S 65789962

S 65789973S 65789975

qa

iconcms

prof

palung 1

 

อาจารย์ที่ปรึกษาประจำหมู่เรียน

นักศึกษาชั้นปีที่ 1

นักศึกษาชั้นปีที่ 2

นักศึกษาชั้นปีที่ 3

นักศึกษาชั้นปีที่ 4


นักศึกษาชั้นปีที่ 1

นักศึกษาชั้นปีที่ 2

นักศึกษาชั้นปีที่ 3

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

 

วัตถุประสงค์การเปิดให้บริการร้องทุกข์ / ร้องเรียนทางอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางให้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ได้สามารถร้องทุกข์ / ร้องเรียนมายังคณะนิติศาสตร์ ได้โดยตรง เพื่อความรวดเร็วในการรับทราบปัญหา สามารถนำไปดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยทุกๆเรื่องจะได้มีการติดตามมิให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากผู้ไม่ประสงค์ดี ที่ต้องการก่อกวนระบบงาน และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริการ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คณะนิติศาสตร์ จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการใช้บริการอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้

หลักเกณฑ์การร้องทุกข์ / ร้องเรียน

1. เรื่องที่อาจนำมาร้องทุกข์ / ร้องเรียนได้ ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์หรือบุคลากรภายในคณะนิติศาสตร์

2. เรื่องที่ร้องทุกข์/ร้องเรียน ต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าวที่เสียหายต่อบุคคลอื่น

3. การใช้บริการร้องทุกข์/ร้องเรียน คณะนิติศาสตร์ ต้องสามารถติดต่อกลับไปยังผู้ร้องเรียนได้ เพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริง

วิธีการยื่นคำร้องทุกข์ / ร้องเรียน

1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ และมี  วัน เดือน ปี ชื่อ และที่อยู่ ของผู้ร้องเรียน / ร้องทุกข์ ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียน / ร้องทุกข์ ได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายอย่างไร ต้องการให้แก้ไข ดำเนินการอย่างไร หรือ ชี้ช่องทางแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ อาจารย์หรือบุคลากรของคณะนิติศาสตร์ได้ชัดแจ้งเพียงพอที่สามารถดำเนินการ สืบสวน สอบสวน ได้ ระบุ พยาน เอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล (ถ้ามี)

2. คำร้องทุกข์/ร้องเรียน อาจส่งทางไปรษณีย์ไปหน่วยงาน หรือส่งช่องทาง Website ของคณะนิติศาสตร์ได้

เรื่องร้องทุกข์ / ร้องเรียนที่อาจไม่รับพิจารณา

1. คำร้องทุกข์/ร้องเรียนที่มิได้ทำเป็นหนังสือ หรือไม่ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ / ร้องเรียนจริง จะถือว่าเป็นบัตรสนเท่ห์

2. คำร้องทุกข์/ร้องเรียนที่ไม่ระบุพยานหรือหลักฐานเพียงพอ หรือเป็นเรื่องที่มีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือการชี้ช่องแจ้งเบาะแสไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสืบสวน สอบสวนต่อไปได้

ช่องทางการร้องทุกข์ / ร้องเรียน 1. ร้องทุกข์/ร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์ประสานงานนักศึกษาสำนักงานคณบดีคณะนิติศาสตร์  2. ร้องทุกข์/ร้องเรียน ผ่าน Website http://niti.ubru.ac.th/

การร้องทุกข์ / ร้องเรียน ทางอินเตอร์เน็ต เงื่อนไขในการส่งเรื่องร้องทุกข์ / ร้องเรียน ท่านสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคณะนิติศาสตร์ ประการที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ประการที่ 2 การทุจริตมิชอบ ประการที่ 3 ไม่ได้รับความเป็นธรรม ประการที่ 4 ถูกกลั่นแกล้ง ประการที่ 5 เรื่องอื่นๆ  กรุณาป้อนข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ E-mail จะมีประโยชน์สำหรับการติดต่อกลับ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบกรณีของเรื่องที่ร้องเรียนให้ท่านทราบ ถ้าหากท่านไม่ประสงค์จะให้ติดต่อกลับ หรือไม่ต้องการทราบผลการตรวจสอบข้อร้องเรียนก็ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วน แต่จะถือว่าเป็นการแจ้งเบาะแสให้ทราบเท่านั้น ร้องเรียน/ร้องทุกข์ คลิกที่นี่

 

 

 

 

๑.)  วัน  เวลา และสถานที่แข่งขันตอบปัญหากฎหมาย

การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ประจำปี ๒๕๖๑  แบ่งการแข่งขันออกเป็น  ๒  รอบ การแข่งขันโดยจะมีขึ้น ณ  หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ในวันและเวลาดังต่อไปนี้ 

 ก.  รอบคัดเลือก วันพุธที่ ๑  สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. จะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด ๔๐ ทีมแรกผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 

ข.  รอบชิงชนะเลิศ  วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.

๒.)  การสมัครเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ก.  โรงเรียนที่สนใจส่งตัวแทนนักเรียนของโรงเรียนเข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จะต้องส่งใบสมัครออนไลน์และลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ http://www.niti.ubru.ac.th และทาง Facebook Fanpage:  Lawubru (https://www.facebook.com/LawRajabhatUbon/) โดยส่งใบสมัครและลงทะเบียนออนไลน์ (เท่านั้น)  โดยสามารถเริ่มสมัครได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่  ๑๑  มิถุนายน ๒๕๖๑ ถึงวันศุกร์ที่ ๒๐  กรกฎาคม  ๒๕๖๑  คณะกรรมการจัดงานแข่งขันจะไม่รับใบสมัครทางอื่นเด็ดขาด เช่น ทาง โทรสาร (Fax) จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ (E – mail) หรือการรับสมัครหน้างาน (Walk – in) เป็นต้น  ดังนั้นโรงเรียนใดที่ไม่ได้ส่งเอกสารใบสมัครออนไลน์และลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายตามวิธีการดังกล่าวจะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน

ข.  ต้องส่งสมัครเข้าแข่งขันในนามของโรงเรียน โดยส่งได้โรงเรียนละไม่เกิน ๓ ทีม และสมาชิกในทีม  ทีมละ ๒ คน

ค.  โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันได้ที่  http://www.niti.ubru.ac.th ได้ในวันจันทร์ที่  ๒๓  กรกฎาคม   ๒๕๖๑

ง.  ในวันแข่งขัน นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายและอาจารย์ผู้ฝึกสอน ต้องมาลงทะเบียนที่ หอประชุมไพรพะยอม ในเวลา ๐๗.๓๐ ๐๘.๓๐ น. หากไม่มาลงทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะถือว่าผู้เข้าแข่งขันสละสิทธิ์

๓.)  ข้อสอบที่ใช้ในการแข่งขัน 

๓.๑ ประเภทของข้อสอบที่ใช้การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จะใช้ ในการวัดความรู้ทางด้านกฎหมาย ได้แก่ ข้อสอบปรนัย โดยแบ่งออกเป็น

- รอบคัดเลือก  แข่งขันด้วยข้อสอบปรนัย  ๔๐ ข้อ  (๔๐ คะแนน) ใช้เวลา ๙๐ นาที 

- รอบชิงชนะเลิศ แข่งขันด้วยคำถามปรนัย  ๑๕ ข้อ  (๑๕ คะแนน) ใช้เวลาข้อละ ๑ นาที  โดยกรรมการจะอ่านคำถามและเฉลยทีละข้อ ซึ่งในกรณีมีทีมที่ได้คะแนนเท่ากันจะใช้คำถามสำรองเป็นคำถามปรนัยตัดสินทีละข้อ

๓.๒  ขอบเขตเนื้อหา

       กฎหมายที่จะใช้ในการตอบปัญหาในครั้งนี้ประกอบด้วย  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  พระธรรมนูญศาลยุติธรรม  กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน  กฎหมายแรงงาน  กฎหมายภาษีอากรและกฎหมายปกครอง

๔.)  กติกาการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับชั้นมัธยมศึกษา

๔.๑ คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคำตัดสินของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สิ้นสุด  ในส่วนของคำถามที่ใช้ในการแข่งขันจะตั้งคำถามโดยคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 ๔.๒ หากระหว่างการแข่งขันพบว่าผู้เข้าแข่งขันทุจริตในการแข่งขันไม่ว่าด้วยประการใด จะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขันทันที 

๕.)  รางวัล 

๕.๑ รางวัลสำหรับการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับมัธยมศึกษา มีดังนี้

- รางวัลชนะเลิศ  โล่รางวัลจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมประกาศนียบัตร และเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท

- รองชนะเลิศอันดับ ๑ โล่รางวัลจากท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานีพร้อมประกาศนียบัตร และเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท

- รองชนะเลิศอันดับ ๒ โล่รางวัลจากท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีพร้อมประกาศนียบัตร และเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท

- รางวัลชมเชย เกียรติบัตร และเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท ( ๕ รางวัล )

- ทีมที่เข้ารอบชิงฯที่เหลือ  เงินรางวัล ๘๐๐ บาท ( ๓๒ รางวัล )

- ทีมที่ไม่ได้เข้ารอบชิงฯที่มีคะแนนสูง ๑๕ อันดับแรก เงินรางวัล ๕๐๐ บาท (๓๐รางวัล)

๕.๒ ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกทีมและอาจารย์ผู้ฝึกสอนจะได้รับประกาศนียบัตร

หมายเหตุ

? ติดตามข้อมูล  ได้ที่  

เว็บไซต์      :    http://www.niti.ubru.ac.th และ 

Facebook :     คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

                  https://www.facebook.com/LawRajabhatUbon/

Facebook :     ชุมนุมวิชาการกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

                  

? ติดต่อประสานงาน

โทรศัพท์ ๐๔๕ – ๓๕๒๐๐๐ ต่อ ๒๔๐๖ หรือ

อาจารย์มานัส  สมสวย  ที่ ๐๘๓ – ๒๕๔๙๗๘๘ หรือ

          คุณจริยา  ทองชื่น ที่ ๐๘๑ – ๖๖๙๓๗๙๗

สาขานิติศาสตร์>>>คลิก<<<

สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม>>>คลิก<<<